วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ประวัติความเป็นมาของเพลงสกา

ประวัติความเป็นมาของเพลงสกา
แดนซ์ฮอลล์ เริ่มพัฒนาและแพร่หลายขึ้นในจาไมก้า นับตั้งแต่ปี 1979 
โดยมีแกนนำคือ Yellowman} Super Cat} Barrington Levy. และพัฒนากลายเป็น
 
Raggamuffin ในต้นยุค 90 โดยการร้อง แรป ด้นสด แทรกเข้ามาในเพลงแดนซ์ โดยมีจังหวะที่เร็วกว่า เร็กเก้
โดยใช้ช้เสียงกลองสังเคราะห์ แทนเสียงกลองธรรมดา ซึ่งในยุคแรกๆ มีเนื้อหา และเนื้อร้องที่ หยาบ เถื่อน และดิบ
 จึงเป็นที่นิยมในกลุ่มหนุ่มสาวชาวจาไมก้า และสืบทอดมาจนปัจจุบัน ได้แพร่หลายไปทั่ว

ดีเจลีด ได้ให้คำนิยามต่อมาว่า
 
"ถ้า เรกเก้ต้นฉบับในปี 1970 เป็นสี แดง เขียว และทอง ละก้อ ก้าวต่อไปของเร็กเก้ ก้อคือ โซ่ทอง"
(คงหมายถึงการรวบรวม และเรียงร้อยและพัฒนาให้เป็นโว่ทองหลากสีสวยงาม ลูกเล่นแพรวพราว...ทำนองนั้นน่ะครับ)

ปลายปี 90 ใน จาไมก้า มีการพัฒนาเนื้อหา คำร้องให้ออกมาทางแนว จิตวิญญาณในลัทธิ Rastafarianism แต่ทว่า
 แนวดนตรีแดนซ์ฮอลล์ ได้ข้ามเขตแดนเข้ามาเจริญเติบโตนอกจาไมก้าเสียแล้ว ดังปี 2001
Shaggy รับ แผ่นเสียงทองคำขาว หกแผ่น จากการทำยอดขายในอัลบั้ม Hotshot ต่อมาในปี 2002 ก้อได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง American Music Award และ Grammy อีกด้วย ทั้งยังได้รับ สองรางวัลใน World Music Award อีกด้วย
 
ขณะที่ จังหวะของแดนซ์ฮอลล์ ได้รับความนิยมต่อเนื่องมาในปี 2003 กับ Get Busy ของ Sean Paul.

ทำให้ ดนตรีแนวแดนซ์ฮอลล์ ได้เข้ามาแทนที่ดนตรีจาไมก้า (คงหมายถึง เรกเก้)
 
จึงมีความหมายรวมไม่เพียงเฉพาะ ท่วงทำนอง และเนื้อร้องเท่านั้น หากแต่ยังรวมถึงแนวคิด และ
วัฒนธรรมของชาวจาไมก้าที่ได้แทรกเข้ามาหลอมรวมกันในท่วงทำนองนั้นๆ อีกด้วย

ดังนั้นจุดสูงสุดของดนตรีแนวนี้ กล่าวคือ ช่วงระหว่าง ปี 89 - 94 และ  99 - 2004 ได้ให้กำเนิดศิลปินแนวนี้ต่างๆ มากมาย 
 
อาทิ Buju Banton, Bounti Killa, Spragga Benz, Beenie Man, Capleton, Elephant Man, Shaggy, Sean Paul และ Sizzla
 
เพลงดังๆ อย่าง No No No ของ Dawn Penn และ Murder She Wrote ของ Chaka Demus & Pliers ถือ เป็น 
 
เพลงแดนซ์ฮอลล์ ฮิตๆ รุ่นแรก ในอเมริกา ในช่วงต้น 90
 

พอจะกล่าวได้ว่า แดนซ์ฮอลล์ ถือกำเนิดขึ้นมาด้วยผลจากปัจจัย ทางการเมืองและเศรษฐกิจในจาไมก้า 
 
โดยการพัฒนาขึ้นมาจากเรกเก้ (ที่ได้รับอิทธิพลจาก ศาสนา ความเชื่อ และแรงขับเคลื่อนทางสภาวะสังคม
 
ในช่วงต่างๆ) ถือเป็น ภาควิทยาศาสตร์ของเรกเก้ อีกด้วย

ทว่า ดนตรีแนวนี้กลับโดนดูถูกและโขกสับเละเทะ จากสื่อต่างๆ โดยเฉพาะ Ian Boyne
นักหนังสือพิมพ์ที่มีชื่อเสียงในจาไมก้า และถูกบถากถาง จากกลุ่มรักร่วมเพศในจาไมก้า
 ถึงประเด็นของเนื้อหาที่ดูถูก เหยีดหยาม ชาวรักร่วมเพศอีกด้วย

แม้ว่า ดนตรีแนวนี้ จะไม่สามารถเข้าถึง และเข้าใจได้ง่าย เนื่องด้วย ผู้คนทั้งหลายต่างๆตัดสินจาก พื้นฐานวัฒนธรรม
 
และความรู้สึกของตนเอง ดังคำว่า Bun ที่หมายถึง burn  ก้อไม่ได้รับการยกย่องว่า มีสุนทรีย์ทางภาษา แต่อย่างไรก้อดี
 
วลีที่ว่า Bun Sodomites ก้อไม่ได้หมายถึง Burn Sodomites แต่กลับเป็นคำเสียดสีที่แสดงว่า
 
คุณเป็นประเภท หัวดื้อ ไม่ยอมรับ ค้านหัวชนฝา ต่างหาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น