วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

สกาและเร็กเก้ต่างกันอย่างไร??



เร้กเก้

แนวเพลงแม่แบบ: อาร์แอนด์บี - แจ๊ซ - บลูส์ - เมนโต - คาลิปโซ - สกา - ร็อกสเตดี้
แหล่งกำเนิดแนวเพลง: ปลายยุค 1960s คิงสตัน, จาไมก้า
เครื่องดนตรี: กีตาร์เบส - กลอง - กีตาร์ - ออร์แกน - เครื่อง ดนตรีสากลกลุ่มเครื่องสาย - เมโลดิก้า
กระแสความนิยม: ในยุค 1970s จนถึงปัจจุบัน
แนวเพลงที่ได้รับอิทธิพล: แด๊นซ์ฮอลล์ - ดั๊บ
แนวเพลงย่อย
Roots reggae - Lovers rock
แนวเพลงผสม
เรกเกตัน - Reggae fusion - Seggae - 2 Tone
Bob Marley ศิลปินเร้กเก้ที่มีชื่อเสียง
       เร้ก เก้ (อังกฤษ: reggae) เป็นแนวดนตรีแอฟริกัน-แคริบเบียน ซึ่งพัฒนาขึ้นบนหมู่เกาะจาไมก้า และมีความชิดใกล้เชื่อมต่อกับลัทธิรัสตาฟาเรียน (Rastafarianism) รากดั้งเดิมของเร้กเก้สามารถค้นหาได้จากดนตรีเทรดิชั่นหรือประเพณีนิยมของ แอฟริกัน-แคริบเบียนที่มีพอๆ กับดนตรีริธึ่มแอนด์บลูส์ของอเมริกัน เร็ก เก้ เป็นดนตรีที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะที่เดียวในโลกของประเทศจาไมก้า ซึ่งอิทธิพลทางดนตรีมาจากนิวออร์ลีน ริธึ่มแอนด์บลูส์ มาจากการฟังวิทยุทรานซิสเตอร์ที่ รับคลื่นสั้นจากสหรัฐอเมริกาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 รากเหง้าของ ดนตรีคนแอฟริกัน-แคริบเบียน คือเพลงโฟล์คของจาไมก้าที่เรียกว่า เมนโต (Mento) มีท่วงทำนองเพลงไปในทางแนวดนตรีคาลิปโซ เนื้อหาของบทเพลงจะพูดถึงการเรียกร้องสิทธิของตัวเองและปัญหาความยากจนต่อ ประเทศเจ้าอาณานิคมในหมู่เกาะอินดี สตะวันตกในทะเลแคริบเบียน
         สำหรับ จาไมก้าตกอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ พลเมืองตกเป็นทาสของคนผิวขาว ก็มีการพัฒนาดนตรีเมนโตนำมาผสมกับอาร์แอนด์บีทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐ อเมริกา พัฒนาเปลี่ยนแปลงจังหวะเพิ่มขึ้นจนกลายเป็นดนตรีสกา (Ska) โดยเปลี่ยนแปลงจังหวะให้เพิ่มขึ้น กีตาร์เล่นจังหวะยก และมีการเล่นลัดจังหวะ ถือว่าเป็นการแปลความหมายของดนตรีอาร์แอนด์บีอีกรูปแบบหนึ่ง และเป็นที่นิยมกันอย่างมากในช่วงต้นยุคทศวรรษที่ 60 และได้มีการพัฒนาขึ้นอีกขั้น บีทของดนตรีจึงถูกดึงให้ช้าลงใช้เปียโนและเบสที่มีอิทธิพลดนตรีร็อกเข้ามา จึงเรียกว่า ร็อกสเตดี้ (Rocksteady)
         จนมาถึงปี 1968 ก็ได้มีการพัฒนาจนถึงขีดสุด ดนตรีเร็กเก้จึงถือกำเนิดขึ้น ภายใต้แนวความคิดของลัทธิรัสตาฟาเรียน ทรงผมฟั่นเชือกหรือเดรด ล็อก และอุดมคติทางการเมืองและสังคม ในการพาชาวแอฟริกัน-แคริบเบียน กลับสู่แผ่นดินในทวีปแอฟริกา
     
สกา

           สกา (Ska) และร็อกสเตดี้ (Rocksteady) คือพื้นฐานทางแนวดนตรีผู้มาก่อนเร็กเก้ในยุคทศวรรษที่ 60 ก่อนที่ บ็อบ มาร์เลย์ จะทำให้ดนตรีเร็กเก้เป็นที่นิยมไปทั่วโลก ก็เคยบันทึกเสียงในแนวดนตรีร็อกสเตดี้ในช่วงแรกในอาชีพของเขา สไตล์ดนตรีเร็กเก้ที่ทำให้เขามีชื่อเสียงมากเรียกกันว่า รูทส์ เร็กเก้ (roots reggae) หรือ รูทส์ ร็อก เร็กเก้ (roots rock reggae) และใช้กับศิลปินอีกมากมายที่ทำงานในแบบเดียวกันอย่าง Black Uhuru, Burning Spear, Culture, Israel Vibrations, The Skatalites and Toots และ The Maytals ซึ่งสามารถส่งอิทธิพลมาถึงวง UB40 ในสหราชอาณาจักร ในจาไม ก้าเอง ดนตรีสไตล์ใหม่ได้ทวีความนิยมมากว่า โดยมีการพัฒนาไปสู่สไตล์เลิฟเวอร์ส ร็อก (Lovers Rock) , แด๊นซ์ฮอลล์ (Dancehall) และแร็กกามัฟฟิน (Raggamuffin)
แนวเพลงแม่แบบ: เมนโต และ คาลิปโซ; สหรัฐอเมริกา แจ๊ซ และ อาร์แอนด์บี
แหล่งกำเนิดแนวเพลง: ปลายทศวรรษที่ 1950 ในจาเมกา
เครื่องดนตรี: กีตาร์, กีตาร์เบส, ทรัมเป็ต, ทรอมโบน, แซกโซโฟน, เปียโน, กลอง, ออร์แกน
 กระแส ความนิยม: รับความนิยมสูงสุดต้น ทศวรรษที่ 1960; ได้รับความนิยมในจาเมกา และสหราชอาณาจักร; ฟื้นฟูใหม่ในทศวรรษที่    1970-1980 ในสหราชอาณาจักร และ ทศวรรษที่ 80-90 ในอเมริกาเหนือ
แนวเพลงที่ได้รับอิทธิพล: ร็อกสเตดี, เร้กเก้
แนวเพลงผสม  ทูโทน, สกาพังก์, สกาแจ๊ซ
            
                 สกา (อังกฤษ: Ska) เป็นแนวเพลงที่เกิดในประเทศจาไมก้า ช่วงปลายทศวรรษที่ 50 ซึ่งต่อมามีการพัฒนาเป็น rocksteady และ เร้กเก้
เพลง สกา เป็นการรวมองค์ประกอบเพลงแถบคาริบเบียนอย่าง เม็นโต และ คาลิปโซ เข้ากับ แจ๊ซทางฝั่งอเมริกา กับอาร์แอนด์บี มีลักษณะพิเศษตรงไลน์เบส สำเนียงกีตาร์ และจังหวะเปียโนที่ดูแตกต่างไป สิ่งที่โดดเด่นอีกอย่างคือมีการใช้เครื่องเป่า (อย่างแจ๊ซ) เช่น แซกโซโฟน, ทรัมเป็ต, ทรอมโบน เป็นต้น และทศวรรษที่ 60 สกาถูกหมายถึงแนวดนตรีของ Rudeboy ในสหราชอาณาจักร สกาได้รับความนิยมในกลุ่ม ม็อดและพวกสกินเฮด มีวงอย่าง Symarip, Laurel Aitken, Desmond Dekker, และ The Pioneers เป็นต้น
           
 วง สกาในประเทศไทย
                    * ทีโบน
                    * สกาแล็คซี่
                    * สกาเบอรรี
                    * ปั๊ปป้า สกาแบนด์
                    * เท็ดดี้ สกา
                    * Kai-jo Barther
s

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น